แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Blog เกร็ดความรู้ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Blog เกร็ดความรู้ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดเม็กซิโก!! โรคใหม่แพร่ในคนสู่คน


โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสุกรเป็นส่วนใหญ่ และมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน และเชื้อไข้หวัดที่พบในนกด้วย ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข เรียกชื่อโรคนี้ในเบื้องต้นว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” ไปก่อน จนกว่าองค์การอนามัยโลกจะกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการออกมา

ทำความรู้จักและวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกัน

1. ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้ คือโรคอะไร
โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสุกรเป็นส่วนใหญ่ และมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน และเชื้อไข้หวัดที่พบในนกด้วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเรียกชื่อโรคนี้ในเบื้องต้นว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” ไปก่อน จนกว่าองค์การอนามัยโลกจะกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการออกมา
2. เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 26 เมษายน 2552) มีผู้ป่วยที่สามารถยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้ว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ 18 ราย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโกรายงานว่ามีผู้ป่วย 1,614 ราย เสียชีวิต 103 ราย ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกัน 20 ราย ใน 5 มลรัฐ ได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย 7 ราย เท็กซัส 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 รัฐนี้มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก รัฐนิวยอร์ก 8 ราย แคนซัส 2 ราย โอไฮโอ 1 ราย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง และไม่มีผู้เสียชีวิต

3. เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
จากระบบการเฝ้าระวังโรคของประเทศ ทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าวนี้ในประเทศไทย

4. คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง เนื่องจากมีเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น

5. ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
รับประทานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และจากการสอบสวนโรคไม่เคยพบผู้ป่วยติดโรคจาการรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุก

6. อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาเจียน ท้องเสียด้วย ผู้ป่วยที่สหรัฐมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่หายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโก มีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต

7. มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยา oseltamivir เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

8. ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้ พอเพียงเพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตยา GPO-A-Flu และ พร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่

9. มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มี และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตใช้อยูในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้






10. คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ
1. หากไม่จำเป็น ควรเลื่อน หรือชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิด การ ระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง

2. หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มี อาการ ไอจาม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด

3. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางกลับ ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อ รับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด

4. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดย

4.1 รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง

4.2 หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการไอ จาม

4.3 นอนหลับ พักผ่อนให้พอเพียง

4.4 ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

4.5 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องแจ้งสำนักงานสาธารณสุข เพื่อเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง





11. กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง และการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ และการสื่อสารความเสี่ยง การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน โดยศูนย์ฮ็อตไลน์ โทร. 02-590-3333 ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http:// beid.ddc.moph.go.th)

เนื่องจากเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ และข้อมูลการสอบสวนโรค บ่งชี้ว่า การระบาดเป็นการติดต่อจากคนสู่คน และมีผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ขยายตัวไปประเทศอื่น

องค์การอนามัยโลกกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญประสานงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับรัฐบาลเม็กซิโก รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC ). เมื่อวันที่ 25 เม.ย.52 และได้ประกาศปรับระยะการระบาดจากเดิม ระดับ 3 เป็นระดับ 4 เมื่อวันที่ 27 เม.ย.52 พร้อมทั้งแนะนำมาตรการว่า ยังไม่มีการจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน
หากประชาชนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศและหากเริ่มป่วยหลังจากการเดินทางระหว่างประเทศ ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุก ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ประชาชนทั่วไปควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ บ่อยๆ และหากเริ่มมีอาการป่วย ควรไปพบแพทย์

สำหรับประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551 และจากการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ในประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ดังกล่าว

ในการรายงานโรคนี้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1, H3N2 และแต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดย คนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่

อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรม พบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน ซึ่งยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วจากคนสู่คน เชื้อนี้มีความไวต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และคาดว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของคน ซึ่งมีสายพันธุ์ H1N1 ประกอบอยู่ด้วย ไม่สามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้ได้

"กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ"


http://variety.teenee.com/foodforbrain/14464.html

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ท้องร่วง...โรคภัยในหน้าร้อน



ท้องร่วง คือโรคภัยชนิดหนึ่งที่พบมากในหน้าร้อน โรคท้องร่วงมีสาเหตุจากการติดเชื้อซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด หรือปรสิต ซึ่งยาที่รักษาก็ต้องแตกต่างกันด้วย โรคท้องร่วงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อข้างต้นและสามารถหายได้เองโดย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ ซึ่งยาปฏิชีวนะ ใช้ได้กับคนที่มีอาการท้องเสียที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น!!

ตัวอย่างยาฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันมากทั้งๆที่ไม่จำเป็น

นีโอมัยซิน เป็นยาปฏิชีวนะซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะแบคทีเรีย ยานี้มีพิษต่อประสาทหูมากที่สุดชนิดหนึ่ง ถ้ากินอาจจะมีอาการโคลงเคลง หูตึง และได้ยินเสียงดังอยู่ตลอดเวลา

พทาริลซัลฟาไทอาโซล เป็นยาต้านแบคทีเรียในกลุ่มซัลฟา ในปัจจุบันแบคทีเรียแทบทุกชนิดต่างดื้อยาตัวนี้ยาในกลุ่มนี้ผลข้างเคียงมาก และรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น อาการตับอักเสบ ตับวายและเป็นโรคของเม็ดเลือดหลายชนิด

ไอโอโดควินอล เป็ยาฆ่าเชื้อบิด ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง มีพิษต่อระบบประสาท เกิดอาการประสาทตาอักเสบซึ่งทำให้ตาบอดได้

ฟูราโซลิโดน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ทั้งกับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อปรสิตแต่ปัจจุบันเลิกใช้ ไปแล้วเพราะยาตัวนี้อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกทั้งในคนปกติและคนที่พร่อง เอนไซม์จีซิกซ์พีดี

การใช้ยาฆ่าเชื้อแบบเหวี่ยงแห คือการใช้ยาหลายๆชนิดในคราวเดียวกันเพื่อครอบ คลุมเชื้อที่อาจเป็นไปได้ให้มากชนิดที่สุด เช่น การนำยานีโอมัยซิน+พทาริลซัลฟาไทอาโซ+ไอโอโดควินอล+ฟูราโซลิโดย รวมไว้ในยาเม็ดเดียวเป็นสูตรผสม ซึ่งเป็นยาอันตรายทั้ง 4ชนิด ถ้าเราไม่ได้มีการติดเชื้อ ยาที่กินเข้าไปก็เปล่าประโยชน์ถึงแม้ติดเชื้อใดเชื้อหนึ่งก็ได้รับยาเกินไป ถึง 3 ชนิด

***วิธีที่ดีที่สุด คือการไม่ใช้ยา**

เราควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป ควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม งดอาหารรสจัดหรืออาหารที่ย่อยยากไม่ควรดื่มนม อาการท้องเสียป้องกันได้ โดยการกินอาหารที่สุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาดและล้างมือก่อนหยิบจับอาหารกินทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

ฮีทสโตรก โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน

ฮีทสโตรก โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน



ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย ขณะนี้สภาพอากาศร้อนจัดกว่าทุกปี ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหลายโรค เช่น โรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปน เปื้อนเข้าไปซึ่งเกิดบ่อยที่สุด แต่โรคที่มีการพูดถึงกันน้อย คนเป็นบ่อยช่วงหน้าร้อนคือ "โรคฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" (Heat Stroke) แต่บางที่ก็เรียกว่า "โรคอุณหพาต" หรือ "โรคลมเหตุร้อน" นั้นเอง

อาการของโรค ฮีทสโตรก

โรคฮีทสโตรก เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนใน ร่างกาย (core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการที่เบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศรีษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ, เพ้อ, ชัก, ไม่รู้สึกตัว, ไตล้มเหลว, มีการตายของเซลล์ตับ, หายใจเร็ว, มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การสลายกล้ามเนื้อลาย, ช็อค และเกิดการสะสมของ fibrin จนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

สามารถของผู้ป่วยเป็นโรคฮีทสโตรก แบ่งตามสาเหตุการเกิดโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ

- Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไปส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่ มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภุมิร่างกายสูง, ไม่มีเหงื่อ

- Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออก นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย

บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก

บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคฮีทสโตรก ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพ อากาศร้อน รวมถึงบรรดานักกีฬาสมัครเล่นและผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

หากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย

• นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก
• ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
• เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

วิธีการป้องกันโรคลมแดด คือ

• หากรู้ว่าจะต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนก็ควรเตรียมตัวโดยการออก กำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ อย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน
• ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
• สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี
• ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป
• หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด
• หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ แก้น้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรือการอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพย์ติดทุกชนิด
• ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง


--------------------

รู้ทันโลกในหน้าร้อน

รู้ทันโรคในหน้าร้อน

ในหน้าร้อน กระ ฝ้า มักแห่กันมาเยี่ยมใบหน้าของคุณ หากไม่ป้องกันหรือเหงื่ออกมากๆ ก็ต้องระวังผื่นคัน และเชื้อรา
ดาราสาว คาเมรอน ดิแอช ชอบเล่นวินเซิร์ฟเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งก็ย่อมหนีไม่พ้นแสงแดด เธอจึงจำเป็นต้องใช้ซันบล็อกทุกครั้ง ส่วนดาราสาวใหญ่ที่สวยไม่สร่างอย่าง ชารอน สโตน ก็ชอบอาบแดดบ้างเป็นครั้งคราว และในทุกครั้งที่อาบแดด ชารอนปกป้องผิวเป็นพิเศษด้วยผลิตภัณฑฑ์กันแดดคุณภาพดีและมีต่า SPF สูง
เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าแสงแดดมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็สามารถให้โทษได้เหมือนกันถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี Lisa จึงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีป้องกันผิวและรู้ทันโรคในฤดูร้อนนี้ค่ะ
Q : แสงแดดมีประโยชน์อย่างไร

A : มัน จะช่วยกระตุ้นเซลล์บางตัว ให้กระตือรือร้นในการป้องกันโรค และทำให้ภูทิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้แสงแดดยังช่วยให้ผิงสร้างวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในกระดูกได้ดียิ่งขึ้น และยังกระตุ้นให้มีการผลิตฮอร์โมนแห่งความสุข รวมทั้งฮอร์โมนเพศเทสโทสเทอโรนและเอสโตรเจนอีกด้วย
Q : ควรระวังภัยจากแสงแดดที่แผดกล้าอย่างไร

A : แท้ จริงแล้วทางการแพทย์เห็นว่าแสงแดดนั้นมีความสำคัญสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เพียงต้องระวังไม่ให้ผิวไหม้แดด เพราะอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปเที่ยวทะเลเพราะรังสีจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากน้ำ หรือทรายจะสะท้อนรังสียูวีเพิ่มมากขึ้นอีก 4 เท่า ดังนั้นเราควรปกป้องตัวเองด้วยการทาครีมกันแดด 1 ชั่วโมง ก่อนออกไปนอกที่พัก และควรทาบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มการป้องกันได้ดีขึ้น อย่าดดนแสงแดดนานๆ โดยเฉพาะเวลา 10.00 – 15.00 น. และควรป้องกันบริเวณทีผิวบอบบางด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด สวมหมวก และควรเป็นเสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดดทะลุถึงผิวได้ เช่น ผ้าฝ้าย

Q : ถ้าหากใช้แบบกันน้ำก็ต้องระวังเรื่องการทำควาสะอาดใช่มั้ยคะ

A : ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันมีหลายแบบ เช่น มิลกี้ ออยล์ แต่ถถ้ามีสิวแล้วใช้ออยล์เช็ดสิวอาจจะเห่อได้ ก็ควรใช้มิลกี้ที่ไม่มีออยล์เช็ดทำความสะอาด ปัจจุบันมีคลีนเซอร์หลายแบบที่ล้างเครื่องสำอางได้ดี
Q : ผลิตภัณฑ์กันแดดควรมีคุณสมบัติอย่างไร

A : ผลิตภัณฑ์ กันแดดมีหลายชนิด เช่น ครีม น้ำ โลชั่น สเปรย์ ถ้ามีค่า SPF เท่ากันก็ชึ้นอยู่กับปริมาณการทา ว่าทาได้เพียงพอหรือไม่ ถ้าเป็รสเปรย์ก็อาจทาได้ไม่ทั่วถึง บริเวณที่ทาไม่ทั่วก็จะโดนแดดซึ่งจะทำให้เกิดกระ ฝ้า ได้ง่าย ครีมกันแดดอาจทาได้ทั่วบริเวณมากกว่าสเปรย์ส่วนโลชั่นก็เหมาะกันคนผิวมัน มากๆ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพราะคนที่ผิวมันมากๆ หากใช้ครีมก็ยิ่งจะผิวมันมากขึ้นอีกส่วนค่า SPF ก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของวันนั้นๆ ถ้าไม่ค่อยโดนแดดมาก ก็ใช้ 25 – 30 ก็พอ แต่ถ้าไปเที่ยวหรือมีกิจกรรมกลางแจ้งก็ควรใช้ค่า SPF 50-60 จะดีกว่าและควรเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปกป้องผิวได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี ส่วน PA หมายถึง การป้องกันรังสียูวีเอ ซึ่งหากเป็ร PA+++ ก็จะปกป้องรังสียูวีเอได้มากกว่า PA+ หรือ PA++ และ SPF หมายถึงการป้องกันรังสียูวีบี ค่ามากกว่าก็จะป้องกันได้มากกว่า
Q :คนที่มีอาการแพ้แสงแดดที่เรียกว่า Photodermatosis เป็นอย่างไร

A : คนที่แพ้แสงแดดจะสังเกตเห็นได้ว่า พอโดนแสงแดดจะมีผื่นขึ้น ชนิดผื่นจะมีหลายชนิด และถ้าไม่โดนแดดก็จะไม่เป็นเผื่อ ผื่นก้จะเกิดที่บริเวณที่โดนแดดเท่านั้น เช่น ถ้าเราใส่เสื้อแขนสั้น ผื่นก็จะขึ้นบริเวณแขน ซึ่งไม่มีผ้าปกปิด ส่วนที่ไม่โดนแดดจะไม่ค่อยมีผื่นขึ้น กรณีที่ขึ้นผื่นบริเวณที่โดนแดดก็ต้องสงสัยว่า แพ้แดดหรือเปล่า แต่บางคนเมื่อโดนแดด ผื่นจะยังไม่ขึ้นทันที แต่พอเข้สไปอยู่ในร่มสักประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง ก็มีผื่นขึ้นได้ แต่บริเวณที่เป็นก็จะบอกได้ว่าแพ้แสงแดดหรือไม่ คือบริเวณที่รับแสงแดดโดยตรง เช่น คอส่วนบน ตรงแขนหรือส่วนที่ไม่มีผ้าปกปิด จะมีผื่นขึ้นโดยทั่วไป มีคนจำนวนไม่มากนักที่แพ้แสงแดด และไม่จำเป็นจะเป็นเฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น
Q : เมื่อเหงื่ออกมากๆ มักมีอาการคัน มีสาเหตุเกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

A : คนที่เหงื่อออกแล้วมีอาการคันเหมือนแพ้เหงื่อตัวเอง คทอเวลามีเหงื่อออก เหงื่อจะมีความเค็ม ซึ่งบางคนเวลาเหงื่ออกมากๆ ก็จะระคายเคือง แต่ถ้ามีอาการคันก็ควรอยู่ในที่เย็นๆ หือพอเหงื่ออกมากๆ ก็ให้ไปอาบน้ำชำระเหงื่อ อย่าให้เหงื่อแห้งจับตัวเพราะจะทำให้ผื่นคัน

Q : ควรป้องกันอาการปากเป็นแผลหรือเริมจากแสงแดดอย่างไร

A : บางคนเมื่อโดนแดดมากๆ ก้จะเป็นการกระตุ้นเชื้อไวรัสให้เจริญเติบโตได้ แต่จริงๆ แล้วเป็นกันไม่มาก ยกเว้นคนที่ตากแดดนานๆ บ่อยๆ แต่คนทั่วไปที่เป็นเริม การตากแดดก็ไม่เป็นการทำให้เห่อเท่าไหร่ ส่วนมากคนที่เห่อเมื่อโดนแดด ก็จะมียารับประทานช่วยป้องกันไม่ให้เริมขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูล จากโรงพยาบาลยันฮี

โรคหน้าร้อนและวิธีปรับตัว




ใกล้จะถึงหน้าร้อน เราต้องคงปรับตัวกันบ้างล่ะ โรคหน้าร้อนเป็นอย่างไร มีโรคอะไรบ้าง และจะปรับตัวอย่างไร
ขอนำเสนอบทความโรคหน้าร้อนที่สำคัญ และพบได้ทุกปี ดังนี้ต่อไปนี้
1. โรคระบาดที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เป็นต้น
โรคอุจจาระร่วง นั้น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโปรโตซัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด อาเจียน มักมีอาการปวดท้องรุนแรง ร่วมด้วย ที่เรียกกันทั่วไปเรียกว่า อาหารเป็นพิษ ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย ผู้ป่วยโรคนี้จะอาการคล้ายอาหารเป็นพิษ แต่รุนแรงกว่า บางรายอาการท้องผูกแทนท้องร่วง โรคเหล่านี้หากประชาชนไม่รู้จักวิธีเยียวยารักษาถูกต้อง เช่น สูญเสียน้ำในร่างกายมาก อาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้
สำหรับอาหารที่ต้องระมัดระวังในการบริโภคในหน้าร้อน เนื่องจากเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางอาหารและน้ำได้ง่าย เช่น อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม น้ำแข็ง อาหารทะเล ส้มตำ อาหารปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารประเภทยำ โดยเฉพาะลูกชิ้นลวกรสแซ่บ เนื่องจากการลวกลูกชิ้นอาจถูกความร้อนเฉพาะผิวรอบนอก แต่ข้างในไม่สุกทั้งหมด ดังนั้นผู้ปรุงอาหารจึงควรเคร่งครัดปรุงให้สะอาด ใช้เวลาลวกในน้ำเดือดนาน 1 นาทีขึ้นไป เพื่อให้ความร้อนทำลายเชื้อโรค หรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนอยู่ เพราะลูกชื้นส่วนใหญ่มีการผลิตมาก่อนถึงมือผู้บริโภคไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
โรคระบาดที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ สามารถหลีกเลี่ยงได้ดังนี้
- ไม่รับประทานอาหาร น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษ
- ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ รวมทั้งเก็บถนอมอาหารไว้ในตู้เย็น เมื่อจะรับประทาน ต้องนำออกจากตู้เย็นมาอุ่นก่อน
- ล้างมือก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่
ร่างกาย
- การรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกร้านอาหารที่สะอาดปลอดภัย

2. โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก เป็นต้น
โรคพิษสุนัขบ้า สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญในบ้านเรา พบว่า คือ สุนัข รองลงมาคือ แมว เชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามีอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค เข้าสู่คนได้ทางบาดแผลที่ถูกสุนัขกัดจึงไม่ควรคลุกคลีกับสุนัขที่ไม่มีเจ้าของและไม่ควรยั่วโมโหสุนัข หากเลี้ยงสุนัขหรือแมวให้นำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคปีละครั้ง และควรระมัดระวังบุตรหลานของท่านไม่ให้คลุกคลีกับสุนัขและแมวจรจัด


เมื่อถูกสุนัขหรือสัตว์กัด ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ แล้วใส่ยารักษาแผลสด และรีบไปพบแพทย์ โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตปีหนึ่ง ๆ นับร้อยราย ทั้ง ๆ ที่โรคนี้ มีวัคซีนป้องกันแล้ว แต่ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากอยู่ดี
โรคไข้เลือดออก แม้ว่าจะไม่ระบาดรุนแรง แต่ก็พบได้ทุกฤดู พบมากในกลุ่มเด็กโตโตวัยรุ่น และ ในผู้ใหญ่ ระวังอย่าให้ยุงลายกัด นอนในมุ้ง ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำทุกสัปดาห์

3. โรคอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่มักเกิดขึ้นง่าย ๆ ช่วงหน้าร้อน ซึ่งยังต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ จะดีที่สุด ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ปวดหัว-ตัวร้อน ไอ-จาม รวมทั้งโรคผิวหนัง เม็ดผด-ผื่นคัน อีกทั้งโรคลมแดด โรคลมชักลมบ้าหมู ผู้ป่วยที่มีโรคเหล่านี้เป็นโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

วิธีปรับตัวเพื่อให้รอดพ้นโรคภัยไข้เจ็บ ที่มากับช่วงหน้าร้อน ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
วิธีแรก ปรับพฤติกรรมบริโภคช่วงหน้าร้อน ให้เข้ากับสภาวะอากาศร้อนอบอ้าว
อุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าวมาก ๆ จะมีผลให้อาหารเกิดการบูด เน่าเสียง่าย เร็วกว่าฤดูกาลอื่น ๆ จึงต้องเลือกบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และนม ถูกสุขอนามัย โดยต้องพิถีพิถันความสด-ใหม่-สะอาด หมั่นสังเกตสินค้าหมดอายุ
วิธีที่ 2 ปรับสภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงตลอดเวลา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม รับมือภัยร้ายหน้าร้อน ที่กำลังย่างกรายใกล้เข้ามา จึงควรเตรียมฟิตซ้อมร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง ด้วยการหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที อย่างน้อย
การออกกำลังกายช่วงหน้าร้อน ต้องมีวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับสภาวะอากาศร้อนอบอ้าว คือต้องไม่สวมเสื้อผ้าหนา และสีทึบ ควรเลือกเนื้อผ้าบาง-เบา ระบายความร้อนได้ดี สีอ่อน ไม่อมความร้อน
การออกกำลังกายช่วงหน้าร้อน ไม่ควรหักโหมมากเกินไป ที่สำคัญควรพักเหนื่อยบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ เมื่อหายเหนื่อยทุกครั้ง ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 4-6 แก้ว เพื่อทดแทนสูญเสียเหงื่อมากจากการออกกำลังกายช่วงหน้าร้อน

วิธีที่ 3. ปรับสภาพแวดล้อมในที่พักอาศัยให้เหมาะสม เช่น ที่พักอาศัยไม่มีเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้วิธีเปิดประตู หน้าต่างมากบานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้อากาศ
ร้อนระบาย ถ่ายเทดี

วิธีที่ 4. ปรับพฤติกรรมเดินทางออกนอกบ้าน ควรหลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน หรืออยู่กลางแดดวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-15.00 น. จะดีที่สุด แต่หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในภาวะอากาศร้อนอบอ้าวมาก ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว ขอแนะนำดื่มน้ำสะอาดเย็น ๆ สัก 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน
หลังจากออกจากบ้านแล้ว ควรหาจังหวะ และโอกาสที่จะดื่มน้ำสะอาด เพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียกับเหงื่อที่ไหลออกมากช่วงอากาศร้อนอบอ้าว การปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นผลดีต่อร่างกายทำให้ไม่อ่อนเพลีย

วิธีสุดท้าย หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะสภาวะอากาศร้อนอบอ้าว แอลกอฮอล์จะซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตเร็ว และเพิ่มแรงดันโลหิตสูงขึ้น มากกว่าช่วงอากาศหนาวเย็น หรือช่วงปกติ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน จนถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้ หากร่างกายไม่ฟิต และไม่มีความสมบูรณ์มากพอ หรือผู้มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ

โรคที่เกิดในหน้าร้อน

โรคที่เกิดในหน้าร้อน
เนื่องด้วยขณะนี้เป็นระยะที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
ซึ่งเป็นฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
ดังนั้นในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะภัยแล้งในช่วงฤดูร้อนนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อหลายช
นิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด
ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยในสุขภาพและอนามัยของประชาชนในช่วง ฤดูร้อนเป็นอย่างยิ่ง
จึงใคร่ขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร
ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะและขอแนะนำ ให้ทราบถึงอาการสำคัญและวิธีการป้องกันโรคที่เกิดใน
ฤดูร้อน ดังนี้

โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
ก. สาเหตุ และอาการของโรค
1. โรคอุจจาระร่วง
เกิดจากเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ
สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญ คือ
ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกปนเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย
จนกระทั่งอาการรุนแรงเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค

2. โรคอาหารเป็นพิษ
เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลล่า เชื้อรา เห็ด
หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร
สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบๆ
จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่
รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอ เมื่อรับประทาน
อาหารนี้เข้าไปก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้ อาการสำคัญคือ มีไข้ ปวดท้อง
เนื่องจากเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อย
ตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ซึ่งถ้าถ่ายมากจะเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้
และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการติดเชื้อ และเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น
ข้อและกระดูก ถุงน้ำดี กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต
จะทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

3. โรคบิด
เกิดจากเชื้อบิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียหรืออมีบา สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร
ผักดิบหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระบ่อย
อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่งร่วมด้วย และบางคนอาจเป็นโรคนี้แบบเรื้อรังได้

4. อหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร
หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
อาการเกิดขึ้น คือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมาก ๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง
ไปจนกระทั่งมีการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำซาวข้าว อาเจียนมาก และมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ อย่างรวดเร็ว
คือ กระหายน้ำ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ตาลึกโหล ผิวหนังเหี่ยวย่น ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ
หายใจลึกผิดปกติ ชีพจรเต้นเบาเร็ว อาการเหล่านี้เกิดขึ้นรวดเร็ว ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะช๊อค หมดสติ
เนื่องจากเสียน้ำ สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว
ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที


5. ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย
เกิดจากเชื้อทัยฟอยด์ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย
สามารถติดต่อได้โดยอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูก หรือบางรายอาจท้องเสียได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เรื้อรังจะมีเชื้อปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะเป็นครั้งคราว
ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเป็นพาหะของโรคได้ ถ้าไปประกอบอาหารโดยไม่สะอาด หรือไม่สุก
ก็จะทำให้เชื้อไทฟอยด์แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้
โรคติดต่อทางอาหารและน้ำดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าจะมีสาเหตุของการเกิดโรคต่างกัน
แต่จะมีวิธีการติดต่อที่คล้ายคลึงกัน คือ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ
ที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ก้อย หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม
หรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืน โดยไม่ได้แช่เย็นไว้ และไม่ได้อุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน
ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวข้างต้น สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ
และหากเป็นผู้ประกอบอาหารหรือพนักงานเสริฟอาหารก็จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก

ข. การรักษา
1. ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการท้องเดิน หรืออาเจียนเล็กน้อยควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ
หรืออาหารเหลวที่มีอยู่ในบ้านมากๆ โดยอาจเป็นน้ำชา น้ำข้าว น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ หรือข้าวต้ม
และให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในสัดส่วนที่ถูกต้อง โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
ผสมกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยการผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม
และให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ เพื่อเป็นการทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป เนื่องจากการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ที่ผสมแล้ว ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน ถ้าเหลือให้เททิ้ง แล้วผสมใหม่วันต่อวัน
การรักษาดังกล่าวนี้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังถ่ายบ่อย และมีอาการมากขึ้น เช่น
อาเจียนมากขึ้น ไข้สูงหรือชักหรือเกิดอาการขาดน้ำ ควรนำไปตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย
หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็วต่อไป

2. เด็กที่ดื่มนมแม่ ให้ดื่มนมแม่ต่อไป ร่วมกับป้อนสารละลายน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
สำหรับเด็กที่ดื่มนมผง ให้ผสมนมตามปกติ
แต่ให้ดื่มเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยดื่มแล้วให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สลับกันไป
(ไม่ควรผสมสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ลงในนมผสม)
3. เริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ภายใน 4 ชั่วโมง
หลังจากดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้อาหารและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
4. หยุดให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่น ถ่ายน้อยลงแล้วเป็นต้น
หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย โดยกินครั้งละน้อยๆ และเพิ่มจำนวนมื้อ
5. ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในร่างกาย
ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น
6. การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

ค. การป้องกัน
1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร รับประทานอาหาร หรือก่อนเตรียมนมให้เด็ก
และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำ หรือห้องส้วมทุกครั้ง
2. ดื่มน้ำที่สะอาด หรือน้ำต้มสุก และรับประทานอาหารที่สะอาด และสุกใหม่ๆ
ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม
หากต้องการจะเก็บรักษาอาหารที่ปรุงสุกแล้วไว้รับประทานในวันต่อไปควรใส่ไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
และเก็บไว้ในตู้เย็น และนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง
3. สำหรับผู้ประกอบอาหาร และพนักงานเสริฟอาหาร ควรหมั่นล้างมือก่อนจับต้องอาหารทุกครั้ง
และดูแลรักษาความสะอาดภายในครัว และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร ตลอดจนกำจัดขยะมูลฝอย
และเศษอาหารทุกวัน และหากมีอาการอุจจาระร่วง ควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ
4. กำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรอบๆ บริเวณบ้าน และถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
(ส้วมซึม) เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

5. ผู้ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์
รวมไปถึงร้านอาหารทุกประเภท ควรดูแลสุขภาพอนามัยของสัตว์เลี้ยงไม่ให้เป็นโรคติดต่อ
และหมั่นทำความสะอาดสถานที่ประกอบการ และกำจัดขยะมูลฝอยบริเวณโดยรอบ
เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน
6. สำหรับผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ควรจัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาด มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
มีการกำจัดขยะมูลฝอย และน้ำเสียที่เหมาะสมในบริเวณชุมชนก่อสร้าง
ตลอดจนมีการให้สุขศึกษาแก่คนงานในการป้องกันโรค

6. โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
ก. สาเหตุและอาการของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมติดต่อมาสู่คน
โดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือสัตว์เลียบริเวณที่มีแผลรอยข่วน
หรือน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเข้าตา ปาก จมูก สัตว์ที่นำโรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่
สุนัขรองลงมาคือแมว และอาจพบในสัตว์อื่น ๆ หลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ม้า วัว ควาย และสัตว์ป่า
เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง
ส่วนใหญ่จะมีอาการปรากฏ หลังจากการรับเชื้อ 15 - 60 วัน หรือบางรายอาจนานเป็นปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
ขณะนี้ยังไม่มียารักษาได้ ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกราย ฉะนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อาการที่สำคัญของโรคในคน เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ต่ำๆ เจ็บคอปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย อาการที่พบบ่อยๆ คือคันบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด ซึ่งแผลอาจหายสนิทไปนานแล้วต่อมาลุกลามไปที่อื่น
ๆ ผู้ป่วยจะเกามากจนเลือดออกซิบ ๆ และมีอาการกลืนลำบาก
เพราะกล้ามเนื้อที่ลำคอและกล่องเสียงหดและเกร็งตัว อยากดื่มน้ำ แต่กลืนไม่ได้ทำให้มีอาการกลัวน้ำ
น้ำลายฟูมปาก บ้วนน้ำลายบ่อย กระวนกระวาย ตื่นเต้น ใจคอหงุดหงิด หายใจเร็ว
ประสาทสัมผัสจะไวต่อการกระตุ้น ทำให้ตกใจง่ายและสะดุ้งผวาเมื่อถูกลม หรือได้ยินเสียงดัง
กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งกระตุก ระยะหลังจะเป็นอัมพาตหมดสติ และเสียชีวิตภายใน 2-7 วัน
นับจากเริ่มแสดงอาการ
วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคกลัวน้ำ คือ ระยะแรก สัตว์จะมีนิสัยผิดไปจากเดิม ต่อมาจะมีอาการ
ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กระโดดงับลมหรือแมลง กินของแปลกๆเช่น เศษไม้ หิน ดิน ทราย
กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารได้น้อยลง ม่านตาเบิกขยาย และจะไวต่อแสงและเสียง
เสียงเห่าหอนผิดปกติ หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย เนื่องจากเริ่มเป็นอัมพาต โดยคางจะห้อย น้ำลายไหลซึม
กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากค้าง ขาสั่น เดินไม่มั่นคง อัมพาตจะลุกลามไปทั่วตัว แล้วจะล้มลง
ชัก และตายภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มแสดงอาการ
อย่างไรก็ตามสัตว์บางตัวอาจมีอาการซึมแสดงอาการระยะตื่นเต้นสั้นหรือไม่แสดงอาการ ซุกซ่อนตัวอยู่ในที่มืด
เย็นและเงียบๆ ไม่กินอาหาร เอาเท้าตะกรุยคอ คล้ายกระดูกติดคอ
โดยไม่มีอาการดุร้ายให้เห็นจะกัดคนต่อเมื่อถูกรบกวน

ข. การป้องกัน
1. นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง แต่สุนัขที่
ฉีดวัคซีนครั้งแรกควรฉีด 2 ครั้ง (ห่างกัน 1-3 เดือน) ตาม
พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้ากำหนดให้เจ้าของต้องนำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน
2. สอนลูกหลาน ไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ควรนำสัตว์ที่นำมาเลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด
เพราะสัตว์ที่ได้รับวัคซีนถูกต้องแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้
และถ้าไม่ต้องการให้สุนัขมีลูก ควรนำไปคุมกำเนิด เช่น ทำหมัน ฉีดยาคุม
3. ควรทิ้งขยะ เศษอาหาร ในที่ที่มีฝาปิดมิดชิด หรือ กำจัดโดยการฝัง หรือเผา
เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของสุนัขจรจัด
และควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการกำจัดสุนัขไม่มีเจ้าของ
4. เมื่อถูกสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด หลาย ๆ
ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่สารละลายไอโอดีนที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น โพวีโดนไอโอดีน
หรือยารักษาแผลสดอื่น ๆ แทน พร้อมทั้งติดตามหาเจ้าของสุนัขที่กัดเพื่อสอบถามประวัติอาการ
และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แล้วรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ใกล้ ที่สุด
เพื่อรับคำแนะนำ ในการฉีดวัคซีน และอิมมูโนโกบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
และถ้าต้องได้รับการฉีดวัคซีนและ
อิมมูโนโกบุลินจะต้องไปให้ครบตามนัดหมายและปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

5. ควรกักขังสุนัขหรือแมวที่กัดไว้เพื่อดูอาการ
ถ้าเป็นสัตว์ที่มีอาการปกติให้กักขังไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยในระหว่างนี้ ควรให้อาหาร
และน้ำตามปกติแต่ต้องระมัดระวัง และไม่คลุกคลีด้วย ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที
และถ้าสัตว์ตาย ในระหว่างนี้ให้ตัดหัวส่งตรวจ แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่มีอาการชัดเจน หรือเป็นสัตว์ป่า
หรือสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ และกักขังไม่ได้ให้ฆ่าทันทีแล้วรีบตัดหัวส่งตรวจ
ทั้งนี้โปรดระวังอย่าฆ่าสัตว์โดยทำให้สมองเละ เพราะจะทำให้ตรวจไม่ได้
และในการตัดหัวสัตว์ส่งตรวจนั้นควรสวมถุงมือกันน้ำ หรือใช้ถุงพลาสติกหุ้มมือ ขณะทำการตัด
(ผู้ที่มีบาดแผลที่มือไม่ควรแตะต้องสัตว์นั้น) แล้วนำถุงพลาสติกครอบส่วนหัวสุนัขก่อนใช้มีดคม ๆ
ตัดตรงรอยข้อต่อระหว่างหัวกับคอ รวบถุงพลาสติกที่ครอบส่วนหัวสุนัขไว้ และนำใส่ลงในถุงพลาสติกหนาๆ
อีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรใช้มีดปังตอ หรือขวานสับ เพราะเชื้ออาจกระเด็นเข้าปากและตาได้
ใส่หัวสัตว์ลงในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น และใส่ภาชนะที่มีความเย็น เช่น กระติกที่มีน้ำแข็งอยู่
เพื่อกันไม่ให้เน่า รีบส่งห้องปฏิบัติการตรวจโรคพิษสุนัขบ้าทันที
6. เมื่อพบเห็นสุนัข
หรือสัตว์มีอาการที่คิดว่าจะเป็นโรคนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หรือเทศบาลทราบโดยด่วน เพื่อดำเนินการกำจัด โดยการติดตามสุนัขและคนที่ถูกสุนัขตัวดังกล่าวกัด ข่วน
และควบคุมโรคในสัตว์ในบริเวณโดยรอบ
7. ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการที่คิดว่าจะเป็นโรคนี้ ให้รีบแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานีอนามัย
หรือโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหาแหล่งของโรค และดำเนินการควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป